วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ลักษณะดอกกล้วยไม้

               ดอกกล้วยไม้เป็นดอกสมบูรณ์เพศ คือ เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอก เดียวกัน ดอกกล้วยไม้ประกอบด้วยกลีบดอกวงนอก 3 กลีบ และกลีบดอกวงใน 3 กลีบ ลักษณะของกลีบดอกกล้วยไม้จะแตกต่างกันไปตามชนิดของกล้วยไม้ กล้วยไม้บางชนิดอาจมีกลีบดอกขนาดใหญ่ สีสวย แต่บางชนิดมีกลีบแคบ สีไม่สวยส่วนของกลีบวงนอกหรือกลีบนอกนั้นจะเป็นส่วน ที่หุ้มดอกในระยะดอกตูม กลีบนอกมักจะมีลักษณะคล้ายกันทั้ง 3 กลีบ ยกเว้นพวกรองเท้านารี ที่กลีบนอกกลีบล่างจะมีลักษณะต่างจากกลีบบน สำหรับกลีบในนั้นจะมีลักษณะต่างกันโดยกลีบ ในคู่หนึ่งจะมีลักษณะเหมือนกัน ส่วนกลีบในกลีบที่สามจะมีลักษณะแตกต่างไปเรียกว่าปาก หรือกระเป๋า(Lip)ซึ่งมีประโยชน์สำหรับล่อแมลงเพื่อช่วยผสมพันธุ์ส่วนประกอบของดอกมีส่วนของก้านเกสรตัวผู้ ก้านเกสรตัวเมียและยอดเกสรตัวเมียรวมกันเป็นอวัยวะเดียวกันยื่นออกมาตรงใจกลางของดอก มีอับเกสรตัวผู้อยู่ที่ส่วนปลายเรียกว่า เส้าเกสร (Staminal column) ยกเว้นพวกรองเท้านารี และกล้วยไม้บางสกุลที่อับเกสรตัวผู้ อยู่ ด้านข้างของเส้าเกสร 2 ข้าง เกสรตัวผู้ไม่มีลักษณะ เป็นละอองเรณูแบบพืชอื่นๆ เกสรตัวผู้ประกอบด้วยอับเรณูและละอองเกสรตัวผู้หรือเรณู เรณูของดอกกล้วยไม้มีลักษณะแตกต่างกันคือละอองเรณูอาจจะรวมกลุ่มติดกันคล้ายขี้ผึ้งอ่อน ๆ หรือละอองเรณูเกาะตัวกันเป็นก้อนแข็งเป็นกลุ่มเรณูเรียกว่าพอลลิเนีย (pollinia) ในแต่ละอับ เรณูมีฝาปิดสนิท อาจมี 2,4 หรือ 8 อันแล้วแต่ชนิดของกล้วยไม้ยอดเกสรตัวเมียจะอยู่ใต้อับเรณู มีลักษณะเป็นแอ่งตื้น ๆภายในมีน้ำเมือกเหนียว (ยกเว้นรองเท้านารีที่มีลักษณะต่างออกไป) น้ำเมือกนี้จะมีไว้เพื่อช่วยในการผสมพันธุ์ สำหรับยึดเกสรตัวผู้ที่ตกลงไปในแอ่ง การผสมเกสรส่วนใหญ่ต้องอาศัยแมลงเข้าช่วสำหรับรังไข่อยู่ตรงส่วนของก้านดอก ภายในรังไข่จะยังไม่มีการพัฒนาเป็นไข่อ่อนเมื่อมีการผสมเกสรเกิดขึ้นแล้วจึงจะเกิดไข่อ่อน ขึ้นมาภายในรังไข่รังไข่เพียงช่อเดียวแต่มีเมล็ดเกาะที่ผนัง 3 แห่ง เมื่อไข่ได้รับการผสมจาก เกสรตัวผู้จะเจริญไปเป็นเมล็ด




การขยายพันธ์กล้วยไม้


      การขยายพันธุ์กล้วยไม้ประเภทแตกกอ (Sympodial) ทำได้หลายวิธี คือ
          1. การตัดแยกลำหลัง กล้วยไม้ที่จะตัดแยกควรมีลำลูกกล้วยอย่างน้อย 4 ลำ ใช้มีดหรือกรรไกรตัดกิ่งชนิดใบบางสอดเข้าไประหว่างลำลูกกล้วยตัดให้ ขาด และใช้ปูนแดงทาแผนให้ทั่ว ลำหลังที่ถูกตัดขาดจะแตกหน่อเป็นลำใหม่ขึ้น เมื่อลำใหม่นี้เริ่มมีรากโผล่ก็ยกออกปลูกได้
          2. การตัดชำ ใช้กับกล้วยไม้สกุลหวายที่ตาที่โคนลำแห้งตายไปแล้ว โดยนำลำหลังของหวายที่ตัดใบ ตัดรากออกหมดมาปักชำให้โคนลำฝังไปในทรายหยาบประมาณ 2-3 ซม. ห่างกัน 4-5 ซม. เก็บในที่มีแสงแดดค่อนข้างจัด รดน้ำให้โชก ตาที่อยู่ใกล้ปลายลำจะแตกเป็นลำใหม่ เรียกว่า ตะเกียง เมื่อลำ ตะเกียงเริ่มเกิดรากก็ตัดเอาไปปลูกได้
          3. การตัดแยกลำหน้า ใช้มีดหรือกรรไกรตัดแยกลำหน้า 2 ลำติดกันแล้วนำไปปลูกได้เลย ซึ่งต่างจากการตัดแยกลำหลังที่ต้องปล่อยทิ้งไว้ให้แตกหน่อใหม่ จึงจะนำไปปลูกได้ ระยะเวลาที่เหมาะสำหรับตัดแยกลำหน้า คือ เมื่อลำหน้าสุดเริ่มมีรากและรากยาวไม่เกิน 1 ซม.
      การขยายพันธุ์กล้วยไม้ประเภทแวนด้า (Monopodial)
          1. การตัดยอด ถ้าเป็นพวกปล้องถี่ เช่น แอสโคเซนด้า, แวนด้าใบแบนยอดที่ตัดต้องมีรากติดมาอย่างน้อย 1 ราก ส่วนพวกข้อห่าง เช่น แมลงปอ อะแรนดา ควรให้รากติดมา 2 ราก และตอที่เหลือต้องมีใบติดอยู่เพื่อให้สามารถแตกยอดใหม่ได้
          2. การตัดแยกแขนง กล้วยไม้ประเภทนี้สามารถแตกหน่อหรือแขนงที่กลางต้นได้ จะตัดแยกเมื่อหน่อหรือแขนงมีใบ 2-3 คู่ และมีรากโดยตัดให้ชิดต้นแม่
          นอกจากนี้แล้วชาวสวนยังนิยมใช้ต้นกล้วยไม้ที่ขยายพันธุ์โดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพราะการขยายพันธุ์วิธีนี้ ทำให้ได้ต้นที่มีลักษณะเหมือนต้นแม่ ในปริมาณมากโดยใช้ระยะเวลาที่สั้น และเป็นต้นที่ปลอดโรค

การปลูกกล้วยไม้          การเลือกทำเลปลูกเลี้ยงกล้วยไม้เพื่อตัดดอกขายนั้นควรใกล้แหล่งน้ำที่สะอาด pH ของน้ำประมาณ 5.2 มีสภาพอากาศดี การคมนาคมสะดวกเพื่อความรวดเร็วในการขนส่งดอกกล้วยไม้ ซึ่งเสียหายได้ง่าย การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ให้ได้ดอกที่มีคุณภาพดีนั้น นอกจากต้องมี การดูแลที่ดีมีการให้ปุ๋ย ฉีดยาป้องกันโรค และแมลงในระยะที่เหมาะสมแล้วยังจำเป็นต้องมีโรงเรือน

กล้วยไม้

ประวัติกล้วยไม้

     กล้วยไม้เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ในวงศ์ Orchidaceae เป็นไม้ตัดดอกยอดนิยม เนื่องจากมีลักษณะดอกและสีสันลวดลายสวยงาม เป็นไม้ตัดดอกที่มีอายุการใช้งานได้นาน กล้วยไม้เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญของไทย เพราะเป็นไม้ส่งออกขายต่างประเทศทำรายได้เข้า ประเทศปีละหลายร้อยล้านบาท มีการปลูกเลี้ยงอย่างครบวงจร ตั้งแต่การผสมเกสร เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เลี้ยงลูกกล้ายไม้ เลี้ยงต้นกล้ายไม้จน กระทั่งให้ดอก ตัดดอกบรรจุหีบห่อและส่งออกเอง
แหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าที่สำคัญของโลกมี 2 แหล่งใหญ่ๆ ด้วยกันคือ ลาตินอเมริกา กับเอเชียแปซิฟิค สำหรับในลาตินอเมริกาเป็น อาณาบริเวณอเมริกากลางติดต่อกับเขตเหนือของอเมริกาใต้ ส่วนแหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค มีประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง จากการค้นพบประเทศไทยมีพันธุ์กล้วยไม้ป่าเป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการเจริญงอกงามของ กล้วยไม้มาก และกล้วยไม้ป่าที่ในพบในภูมิภาคแถบนี้มีลักษณะเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง แตกต่างจากกล้วยไม้ในภูมิภาคลาตินอเมริกา
การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ในประเทศไทย จากการสำรวจในอดีตพบว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีกล้วยไม้อยู่ในป่าธรรมขาติ ไม่ต่ำกว่า 1,000 ชนิด ทั้งประเภทที่พบอยู่บนต้นไม้ บนพื้นผิวของภูเขาและบนพื้นดิน สรุปได้ว่าสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของประเทศไทยเอื้ออำนวยแก่การเจริญงอกงาม ของกล้วยไม้เป็นอย่างมาก ในอดีตชาวชนบทของไทย โดยเฉพาะในแหล่งที่เคยมีกล้วยไม้ป่าอุดมสมบูรณ์ ได้นำกล้ายไม้ป่ามาปลูกเลี้ยงโดยเลียนแบบธรรมชาติ โดยนำกล้วยไม้มาปลูกไว้กับต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ไกล้ๆ บ้านเรือน การเลี้ยงกล้วยไม้เริ่มเปลี่ยนมาเป็นการปลูกเลี้ยงอย่างจริงจังโดยชาวตะวัน ตกผู้หนึ่ง ที่เข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย เห็นว่าสภาพแวดล้อมของประเทศไทยเหมาะสมสำหรับการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ จึงได้สร้างเรือนกล้วยไม้อย่างง่ายๆ และนำเอากล้วยไม้ป่าจากเขตร้อนของอเมริกา ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าแหล่งใหญ่แหล่งหนึ่งของโลก ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากกล้วยไม้ในเอเชียและเอเซียแปซิฟิค โดยนำมาปลูกเลี้ยงเป็นงานอดิเรกในขณะเดียวกันก็มีเจ้านายชั้นสูงและบรรดา ข้าราชการที่ใกล้ชิด ให้ความสนใจเลี้ยงกล้วยไม้เป็นงานอดิเรกเช่นกัน นอกจากนั้นก็ยังมีกลุ่มบุคคลสูงอายุซึ่งเลี้ยงกล้วยไม้เพื่อความสุขทางใจ การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ อย่างไรก็ตามการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ยังคงจำกัดอยู่ในวงแคบ คือ ในกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มผู้มีเงินในยุคนั้น และเป็นการปลูกเลี้ยงที่นิยมกล้วยไม้พันธุ์ต่างประเทศ ส่วนกล้วยไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในป่าของประเทศไทยจะนิยมและยกย่องเฉพาะพันธุ์ ที่หายากและมีราคาแพง
หลังการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในปี 2475 สภาพการเลี้ยงก็ยังคงจำกัดอยู่ในวงแคบเช่นเดิม แต่ผลงานเกี่ยวกับการผสมพันธุ์กล้วยไม้ในต่างประเทศเริ่มมีอิทธิพลกระตุ้น ให้ผู้เกี่ยวข้องกับวงการกล้วยไม้ในประเทศไทยสนใจกล้วยไม้ลูกผสมมากขึ้น มีการสั่งกล้วยไม้ลูกผสมจากประเทศในทวีปยุโรป สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เพื่อนำเข้ามาปลูกเลี้ยงในประเทศไทย การพัฒนาการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ เป็นไปอย่างจริงจัง เมื่อประมาณปี 2493 โดยได้มีการวิจัย นับตั้งแต่การรวบรวมปลูกในระดับพื้นฐาน ต่อมาในปี 2497 ได้เริ่มเปิดการฝึกอบรมการเลี้ยงกล้วยไม้ให้แก่ประชาชนผู้สนใจทั่วไป และมีการจัดตั้งชมรมกล้วยไม้ขึ้นในปี 2498 ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นสมาคมกล้วยไม้เมื่อปี 2500 และในปีเดียวกันนี้ ได้เริ่มมีการนำเอาความรู้ในเรื่องกล้วยไม้และแนวความคิดในการพัฒนาวงการ กล้วยไม้ออกเผยแพร่ทั้งทางโทรทัศน์และวิทยุ และมีการผลิตเอกสารสิ่งพิมพ์เผยแพร่ ทำให้วงการกล้วยไม้ของประเทศไทย ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง จนกระทั่งมีการจัดตั้งสมาคมและสโมสรเกี่ยวกับกล้วยไม้ขึ้นในภาคและจังหวัด ต่างๆ ในปี 2501 ได้มีการเปิดการสอนวิชากล้วยไม้ขึ้นในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นครั้งแรก เพื่อผลิตนักวิชาการและพัฒนางานวิจัยกล้วยไม้ของประเทศ และเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ไม่ได้จำกัดอยู่ภายในวง แคบอีกต่อไป จากการส่งเสริมดังกล่าว ทำให้มีการนำเข้ากล้วยไม้ลูกผสมจากต่างประเทศ เช่น จากฮาวายและสิงคโปร์จำนวนมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ที่มีความรู้หันมารวบรวมพันธุ์ผสมและเพาะพันธุ์จากพ่อแม่พันธุ์ใน ประเทศ ทั้งที่เป็นพ่อแม่พันธุ์จากป่า และลูกผสมที่สั่งเข้ามาแล้วในอดีต ปี 2506 วงการกล้วยไม้ของไทยได้เริ่มมีแผนในการขยายข่ายงานออกไปประสานกับวงการกล้วย ไม้สากล เพื่อยกระดับวงการกล้วยไม้ในประเทศให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ ปี 2509 เริ่มการทำสวนกล้วยไม้ตัดดอกอย่างจริงจัง เมื่อไทยเริ่มส่งออกกล้วยไม้ไปสู่ตลาดต่างประเทศในยุโรปตะวันตก เช่น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน เนเธอร์แลนด์ และอิตาลี ต่อมาจึงขยายตลาดไปสู่ประเทศญี่ปุ่น แคนาดา และบางรัฐของสหรัฐอเมริกา.